ตำบลจำปาโมง

ประวัติความเป็นมา

เหตุที่ตำบลจำปาโมง ได้ชื่อดั่งนี้เพราะพื้นที่บ้านหมู่ ๑,หมู่ ๓ นั้น ในอดีตนั้นเป็นดงไม้ลั่นขามซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ดงจำปา” ประกอบกับมีลำห้วย ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน เรียกลำห้วยนี้ว่าลำห้วยโมง จึงได้ประกอบเป็นตำบลรวมเรียกว่า “ตำบลจำปาโมง” โดยให้บ้านจำปาโมงเป็นบ้านเริ่มแรก หมู่ ๑

คำขวัญ

“ลำห้วยโมงไหลผ่าน ม่านฟ้าภูผาแดง แสงธรรมงามส่องหล้า หลวงปู่ฟ้าน่าเลื่อมใส บุญบั้งไฟประจำปี เจดีย์หลวงปู่พงษ์ ดำรงข้าวพันธุ์ดี ลีลาวดีศรีจำปาโมง”

เขตการปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง อยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี แบ่งเขตการปกครองออกแบ่งเป็น ๑๗ หมู่บ้าน ประกอบด้วย

หมู่ที่ ๑ บ้านจำปาโมง
หมู่ที่ ๒ บ้านนาอ่าง
หมู่ที่ ๓ บ้านจำปาดง
หมู่ที่ ๔ บ้านเหล่าคราม
หมู่ที่ ๕ บ้านวังสวย
หมู่ที่ ๖ บ้านกลางน้อย
หมู่ที่ ๗ บ้านโนนสว่าง
หมู่ที่ ๘ บ้านแดง
หมู่ที่ ๙ บ้านขัวล้อ
หมู่ที่ ๑๐ บ้านลาน
หมู่ที่ ๑๑ บ้านม่วง
หมู่ที่ ๑๒ บ้านเหล่ามะแงว
หมู่ที่ ๑๓ บ้านนาเจริญ
หมู่ที่ ๑๔ บ้านโนนสว่าง
หมู่ที่ ๑๕ บ้านม่วง
หมู่ที่ ๑๖ บ้านลาน
หมู่ที่ ๑๗ บ้านเหล่าคราม

ข้อมูลที่ตั้ง
ตั้งอยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบล ๕ กม.
ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ๑๘ กม.

อาณาเขตมีอานาเขตติดต่อกันดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านขัวล้อ ตำบลจำปาโมง
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านจำปาดง ตำบลจำปาโมง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลข้าวสาร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลเมืองพาน

ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีลำห้วยโมง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักในการเกษตรอยู่ทิศตะวันตกของหมู่บ้าน
พื้นที่หมู่บ้านทั้งหมด ๓,๘๖๗ไร่ แยกเป็น
พื้นที่ทำนา ๑,๗๓๖ ไร่ จำนวนครอบครัวที่ทำนา ๕๑ ครัวเรือน
พื้นที่ทำไร่ ๒๓๔ ไร่ จำนวนครอบครัวที่ ทำไร่ ๑๕ ครัวเรือน
พื้นที่สาธารณะ ๖ ไร่

เนื้อที่
เนื้อที่ประมาณ ๗๑ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๖,๘๗๕ ไร่

ภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือเป็นที่ลาบลุ่ม ทางตอนใต้เป็นที่ลูกคลื่นดอนหาด และเป็นแหล่งต้นน้ำ จำนวน ๒ สาย คือ ลำห้วยงาว และลำห้วยโมง เหมาะแก่การทำการเกษตร

การประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม ร้อยละ ๗๓
ค้าขายและรับราชการ ร้อยละ ๑๘
รับจ้างทั่วไป ร้อยละ ๙

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง
ประกาศจัดองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๙

วิสัยทัศน์
“ชุมชนน่าอยู่ คู่หลักธรรมาธิบาล การเกษตรพอเพียง

ผู้บริหารท้องถิ่น
นายกิตติคุณ คนบุญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง
นายศิรชัย แวงคำ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง
นายอาจอง กองมณี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง
นางอ้อยใจ นาพา เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง
นายปัญญา ท่วมเพ็ชร ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง

การปกครอง
ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นางสำอางค์ นามสกุล บุตรดี
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(๑)ชื่อ นายสุรชัย ผลทิพย์ (๒)ชื่อ นางลำไพ จำปีโชติ
สมาชิก อบต. (๑)ชื่อ นายชัยยา ปัญญากุล (๒)ชื่อ นายมานิตย์ กาล้อม
แบ่งการปกครองออกเป็น ๔ คุ้ม
คุ้มที่ ๑ ชื่อ คุ้มรวมใจพัฒนา ประธานคุ้มชื่อ นายจำรัส แท่งทอง
คุ้มที่ ๒ ชื่อ คุ้มเห็ดเจริญผล ประธานคุ้มชื่อ นายสุรชัย ผลทิพย์
คุ้มที่ ๓ ชื่อ คุ้มเจริญสิน ประธานคุ้มชื่อ นายสิน บุตรดี
คุ้มที่ ๔ ชื่อ คุ้มอยู่เย็นเป็นสุข ประธานคุ้มชื่อ นายมานิตย์ กาล้อม

สถานที่ท่องเที่ยว

    หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านนาเจริญ หมู่ ๑๓

เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง เป็นชุมชนนำร่อง(ต้นแบบ) การพัฒนาพัฒตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (ศาสตร์พระราชา) สามารถเลี้ยงตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยได้รับรางวัลหลายรางวัลซึ่งมีจุดเด่นสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์เรียนรู้ได้เป็นอย่างดี เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ ผ้าสายรุ้งสลับสีและกลุ่มเพาะเห็ดฟาง ซึ่งปัจจุบันกำลังพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม (ทุ่งปอเทือง) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

บ้านนาเจริญ เดิมมีชื่อว่า บ้านโคกน้อย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบ้านจำปาดง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมีนายแนน ทองโชติ เป็นผู้นำคนแรกที่อพยพถิ่นฐานมาจากบ้านจำปาดง โดยเลือกบริเวณพื้นที่ตั้งถิ่นฐานเป็นเนินหรือโคกขนาดเล็ก บริเวณรอบๆ มีความอุดมสมบรูณ์มาก เหมาะที่จะทำนาอย่างยิ่ง จึงตั้งชื่อว่า บ้านนาเจริญ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ มีผู้คนอพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นจำนวนมากจึงแยกออกจาบ้านจำปาดงอย่างเป็นทางการ มีนายคำหมอง ไชยคำแดง เป็นผู้นำคนแรก

ข้อมูลด้านร้านค้าและสถานบริการในหมู่บ้าน

  • ร้านค้าสหกรณ์ชุมชน ๑ แห่ง
  • ปั้มจำหน่ายน้ำมัน ๑ แห่ง (นางสุภาพ นันทะโคตร)
  • สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน
    – ชื่อวัด/สำนักสงฆ์ บ้านนาเจริญ จำนวนพระ ๑ รูป
    – ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน ๑ แห่ง
    – หอกระจายข่าว ๑ แห่ง
    – ร้านค้าชุมชน ๑ แห่ง จำนวนสมาชิก ๑๔๗ คน เงินทุน ๒๗๙,๐๐๐ บาท
    – บ่อน้ำตื้น ๔๐ บ่อ บ่อสาธารณะ ๒ แห่ง
    – ประปาหมู่บ้าน ๑ แห่ง (ใช้จากหนองบุ่งเขียง หมู่ที่ ๙)

ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่สำคัญและภูมิปัญญาท้องถิ่น
มีประเพณีตามฮีต ๑๒ และประเพณีทางพระพุทธศาสนา
เดือน มกราคม ประเพณี บุญเทศกาลปีใหม่
เดือนกุมภาพันธ์ ประเพณี บุญปั้นข้าวจี่
เดือนมีนาคม ประเพณี บุญมหาชาติ
เดือนเมษายน ประเพณี บุญเทศกาลสงกรานต์
เดือนพฤษภาคม ประเพณี บุญบั้งไฟ
เดือนมิถุนายน ประเพณี บุญเบิกบ้าน
เดือนกรกฎาคม ประเพณี บุญเข้าพรรษา
เดือนสิงหาคม ประเพณี บุญข้าวประดับดิน
เดือนกันยายน ประเพณี บุญข้าวสาก
เดือนตุลาคม ประเพณี บุญออกพรรษา
เดือนพฤศจิกายน ประเพณี บุญกฐิน
เดือนธันวาคม ประเพณี

กลุ่มอาชีพ และ ผลิตภัณฑ์ชุมชน
กลุ่มอาชีพ
๑.กลุ่มร้านค้าชุม สมาชิก ๑๔๗ คน เงินทุน ๒๗๙,๐๐๐ บาท
๒.กลุ่มทอผ้า สมาชิก ๒๕ คน เงินทุน ๓๔๐,๗๐๐ บาท
๓.กลุ่มเพาะเห็ดฟาง สมาชิก ๓๕ คน เงินทุน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
๔.กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ สมาชิก ๒๕๐ คน เงินทุน ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท

ผลิตภัณฑ์ชุมชนดีเด่น ได้แก่

  • ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าสายรุ้งสลับสี
  • ชื่อผลิตภัณฑ์ เห็ดฟาง

แหล่งท่องเที่ยว

  • วัดถ้ำหีบ หมู่ที่ 2
    วัดถ้ำหีบ ตั้งอยู่ บ้านนาอ่าง หมู่ที่ 2 ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ตามแนวเทือกเขา
  • ป่าเขือน้ำ เป็นป่าโขดหินมีความสวยงามตามธรรมชาติ
  • วัดถ้ำหีบ เป็นวัดป่าสายกรรมฐาน มีความสงบร่มรื่น เหมาะแก่การศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยมีพระเกจิที่มีชื่อเสียงคือ หลวงปู่พงษ์ ธมฺมาภิรโต (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมะไว้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติธรรม ได้แก่ ถ้ำหีบ ภายในถ้ำมีวัตถุโบราณ จำพวกหีบสมบัติต่างๆ พระเจดีย์อนุสรณ์สถาน ธัมมาภิรตเจดีย์ เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ, พระธาตุหลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดป่าหนองแซง และอัฐิธาตุ-อัฐบริขารของ หลวงปู่พงษ์ ธัมมาภิรโต ณ วัดป่าถ้ำหีบ บ้านนาอ่าง ต.จำปาโมง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • พระพุทธบาทภูผาแดง หมู่ที่ 2 วัดพระพุทธบาทภูผาแดง ตั้งอยู่ บ้านนาอ่าง หมู่ที่ 2 ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ตามแนวเทือกเขาสูง ป่าเขือน้ำ เป็นป่าโขดหินมีความสวยงามตามธรรมชาติ วัดพระพุทธบาทภูผาแดง ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนวนอุทยานภูผาแดงอำเภอบ้านผือ มีความสวยสงบร่มรื่น เหมาะแก่การศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยยอดเขาน้อยใหญ่สูงต่ำตามลำดับสลับซับซ้อนเรียงรายอยู่หลายลูก จุดที่สูงที่สุดคือหน้าผาภูผาแดง ซึ่งมีความสูงประมาณ 300 – 400 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ เช่น ไม้เต็ง รัง เหียง พลวง ประดู่ เป็นต้น การเดินทาง ไปวนอุทยานภูผาแดงมีหลายเส้นทาง ดังนี้ จากอุดรธานี ผ่านอำเภอ บ้านผือ ถึง วนอุทยานภูผาแดง 80 กิโลเมตร จากจังหวัดหนองคาย ผ่านอำเภอบ้านผือ ถึงวนอุทยาน 90 กิโลเมตร จากจังหวัดหนองบัวลำภู ผ่านบ้านคำไฮ อำเภอนากลาง ถึงวนอุทยาน 70 กิโลเมตร โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่
  • ผาจันได
  • ผาคู่รัก
  • น้ำตกซำหินหงส์
  • รอยพระพุทธบาทผาแดง
  • จุดชมวิวภูผาแดง
  • น้ำตกซำม่วง
  • ลานหินแตก
  • หลุมสมบัติโบราณ
  • วัดถ้ำจันทรคราส หมู่ที่ 2
    วัดถ้ำจันทรคราส ตั้งอยู่ บ้านนาอ่าง หมู่ที่ 2 ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ตามแนวเทือกเขาสูง ป่าเขือน้ำ เป็นป่าโขดหินมีความสวยงามตามธรรมชาติ วัดถ้ำจันทรคราส ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนวนอุทยานภูผาแดงอำเภอบ้านผือ มีความสวยสงบร่มรื่น เหมาะแก่การศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ เช่น ไม้เต็ง รัง เหียง พลวง ประดู่ เป็นต้น โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมะไว้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติธรรม ได้แก่
  • วิหารพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ภายในเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม (ไม้สักทอง) ประกอบด้วยพระพุทธรูป 5 พระองค์
  • พระมหาเจดีย์เฉลิมเกียรติ 88 พรรษา ภายในเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม (ไม้สักทอง)ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
  • องค์พระศรีอริยเมตไตย ปรางค์นาค 9 ปรก ขนาด 9 เมตร 9 นิ้ว เป็นปฏิมากรรม ที่ยิ่งใหญ่ งดงาม(กำลังก่อสร้าง)
ตำบลจำปาโมง